เกาะช้าง

หลายปีที่ผ่านมา ชาวบ้านเกาะช้างต้องเผชิญกับปัญหามลพิษจากพลาสติกที่เกยตื้นบนชายหาดที่สวยงามในช่วงฤดูฝน แม้จะมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหานี้ แต่ชาวเกาะก็ต้องการการสนับสนุนทางการเงินและอุปกรณ์ เพื่อหาแนวทางแก้ไข

ตั้งแต่เดือนสิงหาคมพ.ศ. 2564 เราได้จัดซื้อขยะพลาสติกรีไซเคิลที่รวบรวมโดยชาวเกาะช้าง ในปีพ.ศ. 2566 ชุมชนเก็บพลาสติกได้ 13 ตันภายใน 5 เดือน

เมื่อพิจารณาถึงความสำเร็จ บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติสวิส #Tide และแบรนด์นาฬิกา Maurice Lacroix ได้ให้ทุนสนับสนุนการก่อสร้างโกดังจัดเก็บและสำนักงานในปีพ.ศ. 2565 พลาสติกจะถูกรวบรวมที่โกดังและขนส่งไปยังตัวเมืองระนองโดยทางเรือ ซึ่งเรือลำนี้ซื้อจากการระดมทุนจากประชาชนและผู้อุปถัมภ์บนเกาะช้าง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรือได้รับการสนับสนุนโดย Tide Ocean Material

สถานทูตสวิสในกรุงเทพฯ ให้ทุนสนับสนุนการพัฒนากิจกรรมของสถานที่เก็บรวบรวมและสถานที่ฝึกอบรมแห่งนี้ตลอดระยะเวลา 2 ปี การสร้างภาพยนตร์สั้นบนเกาะและโครงการชุมชนที่สวยงาม

ผู้สนับสนุน

#tide ocean material®

Tide Ocean Material เป็นพันธมิตรหลักของเราในการรีไซเคิลพลาสติก เม็ดของ Tide ถูกใช้โดยบริษัทนานาชาติหลายแห่งในอุตสาหกรรมนาฬิกาข้อมือและสินค้าหรูหรา นอกจากการซื้อพลาสติกจากเรา

บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติสวิสสนับสนุนทางการเงินในการพัฒนาโครงการชุมชนและจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับมลพิษจากพลาสติกในโรงเรียนในภาคใต้ของประเทศไทย
More about #tide ocean material®

สถานทูตสวิสประจำประเทศไทย

สถานทูตในฐานะตัวแทนอย่างเป็นทางการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดูแลเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ
พวกเขาสนับสนุนโครงการชุมชนของเรา โครงการหนึ่ง เพื่อสร้างระบบจัดการขยะสำหรับผู้คน ที่อาศัยอยู่บนเกาะช้าง จ.ระนอง

Maurice Lacroix

แบรนด์นาฬิกาสัญชาติสวิสเซอร์แลนด์ ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Road to 1 Billion Bottles” ของ Tide Ocean Material ซึ่งช่วยให้สามารถสร้างโกดังสำหรับจัดเก็บ จัดหาเงินทุนสำหรับอุปกรณ์ และจัดหาแรงงานที่จำเป็นในการดำเนินงานและขนส่งพลาสติกทั้งหมดนี้